วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

การจัดการงานอาชีพ



สาระสำคัญ
            อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอาชีพในสังคมได้  บุคคลที่ประกอบอาชีพจะได้ค่าตอบแทน หรือรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต  และสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้
1.  เพื่อตนเอง การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
2.  เพื่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.  เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีกินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้
4.  เพื่อประเทศชาติ  เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี  มีรายได้ดี  ทำให้มีรายได้ที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป
            มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้
1.  ความรู้ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน
2.  ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
3.  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
การแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1.  สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้
2.  ได้ทำงานที่ตนเองถนัด
3.  ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ
การประกอบอาชีพของคนไทย
            การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น
ลักษณะอาชีพของคนไทย
1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง
2.  งานอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
3.  งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.  งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน
5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
สาระสำคัญ
1.  ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achivement)  ในการทำงานเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้  ผู้ประกอบการจะต้องมุ่งมั่นใช้กำลังกาย กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด  พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน  โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก  เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้  ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขให้เกิดความสำเร็จ  พอใจ  ภูมิใจที่งานออกมาดี  แต่สิ่งที่สำคัญคือ  จุดมุ่งหมายทางธุรกิจ  มิได้อยู่ที่กำไร  แต่จะต้องทำเพื่อขยายความเจริญเติบโตของกิจการ  กำไรเป็นเครื่องสะท้อนว่าทำได้  และไม่เพียงสนใจต่อการบรรลุเป้าหมายเท่านั้น  แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อวิธีการหรือกระบวนที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย
2.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity  Thinking) การจะเป็นผู้สำเร็จในงานอาชีพได้นั้น  จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม้พอใจในการทำสิ่งซ้ำๆเหมือนเดิมตลอดเวลา  แต่เป็นผู้ที่ชอบนำประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์  สร้างสรรค์  หาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม  สามารถหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากเดิม กล้าใช้วิธีขายที่ไม่เหมือนใคร  กล้าประดิษฐ์  กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่เข้าสู่ตลาด  สามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต  สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้  รวมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ๆมาทดแทนของเดิม  รู้จักปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน  นำระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดต้นทุน  ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้  อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้
3.  รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย (Addicted to Goals) เมื่อตั้งเป้าหมาย  ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  เป้าหมายทุกเป้าหมายล้วนจะต้องเอาชนะทั้งสิ้น  มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ  จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า  มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย  เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะอุปสรรค  ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความล้มเหลว  และหาหนทางแก้ไขเมื่อประสบความเหลว  และในขณะเดียวกันการมองโลกในแง่ดีมีความหวัง  มุ่งมั่นต่อไปเป้าหมายของความสำเร็จจะมองเห็นในอนาคต
4.  มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability)  มีลักษณะการเป็นผู้นำ  รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี ภาวะการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทบาทการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ  จะต้องรับบทบาทเป็นผู้นำที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง  ต้องทำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ  เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน  วางแผนทางการทำงาน  ให้คำแนะนำและให้ผู้ร่วมงานรับค่าสิ่งด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงาน  เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี 
5.  มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self Confident)  ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง  มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง  มีความมั่นใจ  มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว  มีลักษณะเป็นผู้นำ  มีความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว  มีความทะเยอทะยาน  และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไปหรือเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป
สาระสำคัญ

            หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ หากทุกคนเลือกอาชีพที่มีความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย

ที่มา  https://sueheera.weebly.com/
สืบค้นเมื่อ  27/12/60

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การวางแผน


การวางแผน




  การวางแผน   หมายถึง  กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการทำงานในอนาคตพร้อมทั้งกำหนดแนวทางการกระทำในทางปฏิบัติจริงเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์                 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดแผน 
1. อนาคต  เป็นการกำหนดวิธีการที่จะปฏิบัติในอนาคต
2. การปฏิบัติ  ระบุวิธีปฏิบัติ
3. บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ  เป็นการกำหนดตัวบุคคล
4. การแก้ปัญหาขัดแย้ง  ต้องมีการกำหนดวิธีแก้ปัญหาเอาไว้
5. มาตรฐาน  กำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ต้องการ
6. ความประหยัด  ต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด                 
ประโยชน์ของการวางแผน 
1. การวางแผนทำให้ทุกคนทุกฝ่ายทราบทิศทางขององค์การ
2. การวางแผนเป็นการกำหนดเป้าหมาย
3. การวางแผนช่วยให้เกิดการประสานของแต่ละบุคคลแต่ละฝ่าย
4. การวางแผนเอื้ออำนวยให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ
5.การวางแผนมีผลต่อประสิทธิภาพของนักการบริหารโดยตรง
ความสำคัญของการบริหาร
 1. ช่วยให้สามารถระบุเป้าหมายผลสำเร็จอย่างชัดเจน
2. ช่วยให้การกำหนดและระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ
3. ช่วยให้กิจการมีนโยบายที่ชัดเจน
4. ช่วยให้มีการคาดคะเนปัญหาล่วงหน้า
5. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้วิธีการควบคุมที่คล่องตัวและเหมาะสม              
  ปรัชญาของการวางแผน Russell  L.  Ackoff  ได้แบ่งปรัชญาการวางแผนออกเป็น  3  แบบ               
 1. ทำเท่าที่พอใจ  (Satisficing)  นิยมใช้มาก                
2. ทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด  (Optimizing)               
 3. ดัดแปลงทำให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม  (Adaptivizing)  หรือแบบนวัตกรรม เป็นแบบที่ใช้น้อยที่สุด         
ประเภทของแผน   แบ่งเป็น 5 ประเภท
แผนที่แบ่งตามระยะเวลาและวัตถุประสงค์ของแผน  มี 3 ประเภท               
 1.1 แผนระยะสั้น   ตั้งแต่ 1 เดือน  แต่ไม่เกิน 1 ปี                
1.2 แผนระยะกลาง  ช่วง 1 ปี  แต่ไม่เกิน 5 ปี               
1.3 แผนระยะยาว   ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป  มีความคาดหวังผลสำเร็จสูง  แต่จะมีผลสำเร็จต่ำกว่าระยะอื่น  มักเรียกว่าแผรกลยุทธ์
2. แผนที่แบ่งตามระดับของผู้บริหาร  มี 3 ประเภท                
2.1 แผนกลยุทธ์หรือแผนนโยบาย  จัดเป็นแผนระยะยาวเป็นของผู้บริหารระดับสูง              
  2.2 แผนยุทธวิธี  หรือแผนปฏิบัติการ  เป็นหน้าที่ในการจัดทำของผู้บริหารระดับกลาง  เป็นแผนการกระจายและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่              
  2.3 แผนดำเนินงาน  เป็นการวางแผนการทำงานประจำวัน  ประจำสัปดาห์  ประจำเดือน  และประจำปีของผู้บริหารระดับต้น
3. แผนแบ่งตามความถี่ของการใช้แผน  มี 2 ประเภท                
3.1 แผนถาวร  หรือแผนใช้ประจำ  เป็นแผนที่เพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ               
 3.2 แผนชั่วคราว  หรือแผนใช้ครั้งเดียว   เหมาะที่จะใช้กับงานโครงการที่มีระยะเริ่มต้นและสิ้นสุดในระยะเวลาสั้น
4. แผนที่แบ่งตามลักษณะกิจกรรมแต่ละด้านในองค์การ  คือแผนของแต่ละฝ่ายงานในองค์การ
5. แผนที่แบ่งตามวิธีการกำหนดแผน  มี 2 ประเภท                
5.1 แผนที่กำหนดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง  เกิดจากผู้บริหารระดับสูงกำหนดกลยุทธ์แล้วส่งต่อให้ผุ้บริหารระดับกลาง  และต้นดูแล               
 5.2 แผนที่กำหนดจากเบื้องล่างขึ้นไปเบื้องบน  เกิดจากหน่วยงานระดับล่างวางแผนสง่ไปยังผู้บริหารระดับกลาง  ขึ้นไปสู่ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา                 
    แผน  (Plan)   เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาการวางแผน
1. ต้องทำอะไร  (What)    
2. ทำไปทำไม  (Why)                       
3.ทำเมื่อไร  (When)                        
 4. ใครทำ  (Who)                                
5. ทำอย่างไร  (How)    
   กระบวนการวางแผน  (Planning  process) สิ่งจำเป็นสำหรับการวางแผน                
1. วัตถุประสงค์  (Objective)  เป้าหมายในการทำงาน 
2. การคาดการณ์ (Forecase)  ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เพื่อจะได้เตรียมทางออกที่ดีไว้ล่วงหน้า               
 3. กิจกรรม  (Activity)  การปฏิบัติงาน                
4. เวลา (Time)  ระยะเวลาของกิจกรรม               
5. แผนการใช้เงิน  (Budget)  การประมาณการค่าใช้จ่าย               
 6. คณะทำงาน  (Organization)  การระบุผู้รับผิดชอบ  กำหนดตำแหน่งหน้าที่  ลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบ               
 7. แนวนโยบาย  (Policy)  เป็นหลักให้ทุกคนทุกฝ่ายถือปฏิบัติ              
 8. มาตรฐานผลงาน  (Standard)  ระดับผลงานที่ถูกคาดหวังว่าต้องการระดับใด  จึงจะถือว่าประสบผลสำเร็จ      
แหล่งที่มา https://www.google.co.th/search?q=การวางแผน&rlz=1C1CHBF_thTH747TH747
สืบค้นเมื่อวันท่ 20/12/60

การพัฒนางาน



การพัฒนางาน


การพัฒนางาน คือ การบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การวิเคราะห์งานมีวิธีการดังนี้
1.การวิเคราะห์งานด้วยการใช้แนวทางความเป็นเป็นไปได้ของงาน
2.การวิเคราะห์งานด้วยการวิเคราะห์กิจกรรมของงาน
3.การวิเคราะห์งานด้วยการวิเคราะห์หน่วยของงาน
การพัฒนาวิธีการทำงาน                                                     
1. ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
2. ปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ทำงาน
3. ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เหมาะสมขึ้น
4. ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต และต้นทุนต่ำ
5. ปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แปรรูปได้ง่ายและราคาไม่แพ
หลักการพัฒนาสถานที่ทำงาน
1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
3 .การจัดรูปแบบของงาน
4. การวิเคระห์ระบบงานและจัดสถานที่
5. การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม
องค์ประกอบของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน
 1. สุขภาพและความปลอดภัย
 2. เวลาการทำงาน ทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียความสนใจในงานความเหนื่อยหน่าย ความเมื่อยล้า
 3. สภาพภูมิอากาศ
 4. กลิ่น ฝุ่น และสารพิษ
 5. แสงสว่าง
 6. เสียงและความสั่นสะเทือน
 7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า



             เทคนิคในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
             1.ตั้งเป้าหมายในการพัฒนางาน ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทายในการพัฒนางาน เช่น เพิ่มยอดขาย 30% เพิ่มประสิทธิภาพ 20%หรือ ลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน     ลง 10% ต้องการเป็น TOP SALE เป็นต้นเป้าหมายจะเปรียบเสมือนการจุดไฟสร้างแรงจูงใจให้กับเราเองจะทำให้เรารู้ว่า เราควรทำงานหนักไปเพื่อใคร และทำไม
              2.. คิดและทำอย่างเป็นระบบการทำงานนั้น ไม่ได้อาศัย ประสบการณ์ แต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยการพัฒนาระบบงานที่ดีด้วย
              3.. จัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความสำคัญ กับ ความเร่งด่วนงานใดสำคัญมาก เร่งด่วนมาก ให้ทำก่อนงานใดสำคัญมาก แต่ไม่เร่งด่วน ก็มอบหมายให้คนที่มีฝีมือทำไปก่อนงานใดสำคัญน้อย แต่เร่งด่วนมาก ก็อาจให้ลูกทีมที่ทำงานเร็ว ทำแทนงานใดไม่สำคัญ ไม่เร่งด่วน ก็อาจต้องพิจารณาตัดออกไปบ้างประเด็นก็คือ อย่ากอดงานไว้กับตัวเพียงคนเดียว หัดกระจายงานบ้าง
            4.. วางแผนอย่างรอบคอบ จะทำให้เราทำงานน้อยลงวางแผนให้มาก คิดให้รอบคอบ หาแนวทางและทางเลือกที่หลากหลายเพื่อเปรียบเทียบหาแนวทางและทางเลือกที่ดีหรือเป็นไปได้ที่สุดแล้วเราจะได้แผนงานที่ดี เวลาปฏิบัติตามแผนก็จะง่ายขึ้น
             5.. คิดไว้เสมอ วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน, พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้หากเรามีความเชื่อเช่นนี้ เราก็จะพัฒนาตนเอง พัฒนาการทำงานอยู่เสมอผลที่ได้ก็จะทำให้เราทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

 แหล่งที่มา http://oknation.nationtv.tv/
สืบค้นวันที่ 20/12/60😋😋


วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน




จอห์น ดี.มิลเล็ท (John D.Millet,1954) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ และได้รับผลกำไรจากการปฏิบัติงาน ซึ่งความพึงพอใจ หมายถึง ความพึงพอใจในการบริการให้กับประชาชน โดยพิจารณาจาก เช่น การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า เป็นต้น
          สมใจ ลักษณะ (2544) ได้กล่าวว่า การมีประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคล หมายถึงการทำงานให้เสร็จ โดยสูญเวลาและเสียพลังงานน้อยที่สุด ได้แก่การทำงานได้เร็ว และได้งานที่ดี บุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นบุคลากรที่ตั้งใจในการปฏิบัติงานเต็มความสามารถ ใช้กลวิธี หรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มาก เป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยสิ้นเปลืองต้นทุน ค่าใช้จ่าย พลังงาน และเวลาน้อยที่สุด
          สิริวดี ชูเชิด (2556) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง ความสามารถและทักษะในการกระทำของบุคคลของตนเอง หรือของผู้อื่นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเองและขององค์กร อันจะทำให้ตนเอง ผู้อื่นและองค์กร เกิดความพึงพอใจและสงบสุขในที่สุด

          สรุปว่า การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ความสามารถ และทักษะในการทำงานของตนเองหรือผู้อื่นให้ดีขึ้นเจริญขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งจะทำให้ตนเองผู้อื่นและองค์กรเกิดความสุขในที่สุด โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กรหรือการพัฒนาสังคม

 ประโยชน์ของการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้
          1. ช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          2. ช่วยเพิ่มกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จในการทำงานและช่วยลดความซ้ำซ้อนของงาน
          3. ช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
          4. ช่วยทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า หรือพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
          5. ทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ลดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา ทรัพยากร และกำลังคน
          6. องค์กรมีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ เทคนิค วิธีการ ด้วยวิธีการทำงานที่เหมาะสม 
ลดปัญหาอุปสรรคและมีความสุขในการทำงาน
          7. ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง เมื่อพัฒนาตนเองแล้วจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนานั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานและองค์กรต่อไป

 ประเภทของประสิทธิภาพในการทำงาน
 1. ประสิทธิภาพของบุคคล หมายถึง การทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลาและพลังงานน้อยที่สุด ค่านิยมการทำงานที่ยึดกับสังคม เป็นการทำงานได้เร็วและได้งานดี
          บุคคลที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน คือบุคคลที่ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ใช้กลวิธีหรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มาก เป็นผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่น่าพอใจ โดยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย พลังงานและเวลาน้อย เป็นบุคคลที่มีความสุขและพอใจในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความพอใจจะเพิ่มพูนคุณภาพและปริมาณของผลงาน คิดค้น ดัดแปลง วิธีการทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
          2. ประสิทธิภาพขององค์กร คือการที่องค์กรสามารถดำเนินงานต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์กร โดยใช้ทรัพยากร ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงกำลังคนอย่างคุ้มค่า มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด มีลักษณะการดำเนินงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ โดยประหยัดทั้งเวลา ทรัพยากร และกำลังคน
          องค์กรมีความสามารถในการใช้ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยี ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีความราบรื่นในการดำเนินงาน มีปัญหาอุปสรรค และความขัดแย้งน้อยที่สุด บุคลากรมีขวัญกำลังใจดี และมีความสุขในการทำงาน

องค์ประกอบของการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
 1. คุณภาพของงาน (Quality) จะต้องมีคุณภาพสูงคือผู้ผลิตและผู้ใช้ได้ประโยชน์คุ้มค่าและมี    ความพึงพอใจ
  2. ปริมาณ (Quality) งานที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามความคาดหวังของหน่วยงาน
  3. เวลา (Time) คือเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานต้องอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง เหมาะสมกับหลักการและทันสมัย
  4. ค่าใช้จ่าย (Cost) เป็นในการดำเนินการทั้งหมดจะต้องเหมาะสมกับงานและวิธีการ คือจะต้องลงทุนน้อยและได้ผลกำไรมากที่สุด


ปัจจัยที่ช่วยทำให้คนทำงานดีและมีประสิทธิภาพ
           1. เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี คือในการทำงานนั้นเราจะต้องรู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ และค้นคว้าแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ทำตัวให้เป็นที่รักของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน การที่เราทำตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี ไม่เพียงแต่จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความก้าวหน้าอีกด้วย การช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ จะทำให้เราได้รับความช่วยเหลือตอบแทน ดังนั้น เมื่อติดขัดปัญหาอะไรก็ตาม เราก็จะผ่านพ้นไปได้อย่างไม่ยากเย็น
          2. รักษามารยาทในการทำงาน การทำงานโดยยึดถือระเบียบ และเคารพกฎกติกา จะทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น ไร้อุปสรรคในการทำงาน การรู้จักมารยาทในการทำงาน ไม่เพียงเป็นการเคารพผู้อื่น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เคารพเราด้วย เคารพในความเป็นคนทำงานมืออาชีพ รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำในที่ทำงาน
          3. สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนร่วมงาน ปฏิเสธไม่ได้ว่ารอยยิ้มเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการทำงาน ทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกได้ถึงความเป็นมิตรของเรา เมื่อมีความสุข ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่ยากเย็น
           4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา จะทำให้การทำงานมีความราบรื่นมากขึ้น การไหว้วานใครให้ช่วยเหลือก็ทำได้ง่ายขึ้น เพื่อนร่วมงานจะยอมช่วยเหลือเราด้วยความเต็มใจ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าเราก็พร้อมที่จะช่วยเขา เมื่อคนทำงานที่อยู่ในออฟฟิศเดียวกันพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน การดำเนินงานขององค์กรก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจัยที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพนั้นมีอยู่หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้วิธีไหน แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องคิดไว้เสมอ คือการทำงานนั้นจะมีประสิทธิภาพได้ ต้องเกิดจากการทำงานที่มีความสุขควบคู่กันไป หากวันใดวันหนึ่งเราเริ่มรู้สึกเบื่องาน เราต้องเริ่มคิดแล้วว่าเราจะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้การทำงานนั้นกลับมามีความสุขอย่างเดิม เพื่อให้การทำงานของเรากลับมามีประสิทธิภาพตามไปด้วย

แหล่งที่มา http://www.thailandindustry.com/


สืบค้นเมื่อวันที่ 13/12/60








วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการความเสี่ยง


การจัดการความเสี่ยง


การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง คือ การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ดูแลตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย 

องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง
1.  การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัยเป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือ ขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง
2.  การประเมินผลกระทบของภัยเป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
3.  การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัยการจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
·     มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
·     มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
·     ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
·     ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
·     มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลามไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
·     มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
·     มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้

ประเภทของความเสี่ยง
เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.   ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำกำไรของ     บริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยง   ด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม
2.  ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด
3.   ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด
4.   ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
         ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง 
ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
1)
ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
2)
ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ

การควบคุม (Control) 
การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด       ความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
2.  การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
3.  การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4.  การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

แหล่งที่มา https://www.google.co.th/search?q=การจัดการความเสี่ยง&rlz=1
สืบค้นเมื่อ 06/12/60



การจัดการงานอาชีพ สาระสำคัญ              อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอ...