คุณภาพ
คุณภาพ หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้งาน
(Juran,
1964) การเป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับข้อกำหนด (Crosby,
1979)
คุณภาพของการออกแบบและความสอดคล้องในการดำเนินงาน ที่จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่เจ้าของผลงาน
(Deming, 1940)
การประหยัดที่สุด มีประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด
และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ (Ishikawa, 1985) สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเงื่อนไขด้านการใช้งาน
และราคาของลูกค้า (Feigenbaum, 1961) หรือมาตรฐาน ผลงาน ประสิทธิภาพ และความพอใจ(ทิพวรรณ,2547)
จากการศึกษาความหมายของคุณภาพที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวมาจะเห็นว่าคุณภาพเป็นคำที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ
อย่างไรก็ดี สามารถสรุปความสอดคล้องของความหมายได้ 3 ด้าน คือ การเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด
การสร้างความพอใจให้ลูกค้าและด้านต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม
ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ หมายถึง
การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ
โดยสินค้าหรือบริการนั้นสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขัน ลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายตามราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น
ซึ่งมิใช่เรื่องที่ประเมินจากสิ่งของที่จับต้องได้ หรือเป็นรูปธรรมเพียงด้านเดียว
แต่จะต้องนำปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นนามธรรมมาประกอบการพิจารณาด้วย
ที่มา : www.research.att.com
|
.....-.ค.ศ.1924
..... Walter A.she whart ชาวอเมริกาได้นำแผนภูมิการควบคุมคุณภาพมาใช้กับบริษัท Bell Telephon Laboratinice |
![]()
ที่มา : www.research.att.com
|
.....-.ค.ศ.1926
.....H.F. Dedge และ H.C. Roming นำเอาหลักทางสถิติ มาสร้าง ตารางสุ่มตัวอย่าง ของการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ |
ที่มา : www.lii.net
|
.....-.ค.ศ.1940-1945
.....Dr.Edwards.Deming ได้รับเชิญให้มาสอนญี่ปุ่น เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ตามหลักทางสถิติ ที่เรียกว่า S Q C (Statistical Quality Control) |
ที่มา : www.qimpro.com
|
.....- ค.ศ.1950
.....Dr..Edwards.Deming สร้างแผนผังควบคุมกระบวนการคล้ายก้างปลา ที่เรียกว่า Flow Diagram และสอนวิธีบริหารคุณภาพ อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีง่ายๆ คือ P D C A (Plan-do-check-act) |
ที่มา : www.qimpro.com
|
.....-
ค.ศ.1954
.....Dr. Joseph M. Juran ได้รับเชิญให้มาสอนที่ประเทศญี่ปุ่น โดย ดร.ยูรัน กล่าวว่า ต้นเหตุของความบกพร่องผิดพลาด อยู่ที่ผู้บริหาร ระดับสูงร้อยละ 80 หรือ มากกว่า และท่านยังสอน วิธีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต TQC (Total Quality Control) .....วิชาการควบคุมคุณภาพ ตามหลักทางสถิติ ให้ญี่ปุ่นที่เรียกว่า การควบคุมคุณภาพทางสถิติ (Statistical Quality Control = SQC) หลังจากนั้นญี่ปุ่นได้มีการพัฒนา เป็นการทำงานเป็นทีม และมีการแข่งขัน ระหว่างกลุ่มทำงาน จึงเกิด กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (Quality Control Circle) หรือ QCC |
.....- ค.ศ.1987
.....ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล โดยกำหนดมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO |
หากพิจารณาคุณสมบัติของคุณภาพสามารถจะแยกออกเป็น
2 ลักษณะ ได้แก่
1. คุณภาพของผลิตภัณฑ์
สามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญ 8 ด้าน คือ สมรรถนะ ลักษณะเฉพาะ ความเชื่อถือได้ ความสอดคล้องตามที่กำหนด ความทนทาน ความสามารถในการให้บริการ ความสวยงาม และการรับรู้คุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้า
2. คุณภาพของงานบริการ
ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 10 ด้าน คือ ความเชื่อถือได้ การตอบสนองความต้องการ ความสามารถ การเข้าถึงได้ ความสุภาพ การติดต่อสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ความเข้าใจลูกค้า และสามารถรู้สึกได้ในบริการ
สามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญ 8 ด้าน คือ สมรรถนะ ลักษณะเฉพาะ ความเชื่อถือได้ ความสอดคล้องตามที่กำหนด ความทนทาน ความสามารถในการให้บริการ ความสวยงาม และการรับรู้คุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้า
2. คุณภาพของงานบริการ
ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 10 ด้าน คือ ความเชื่อถือได้ การตอบสนองความต้องการ ความสามารถ การเข้าถึงได้ ความสุภาพ การติดต่อสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ความเข้าใจลูกค้า และสามารถรู้สึกได้ในบริการ
การสร้างคุณภาพในเชิงบูรณาการ
จะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดกลยุทธ์และแผนคุณภาพ ที่สามารถแทรกตัวเข้ากับวิสัยทัศน์
การดำเนินงาน และวัฒนธรรมองค์การอย่างเหมาะสม
โดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม
โดยที่การกำหนดแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์สถานะด้านคุณภาพขององค์การ การกำหนดวิสัยทัศน์คุณภาพ การกำหนดภารกิจวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ด้านคุณภาพ และกำหนดแผนปฏิบัติการด้านคุณภาพ
นอกจากการกำหนดแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์แล้วคุณภาพจำเป็นยิ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพ
คือ มีกระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ
เพื่อให้แน่ใจว่าองค์การสามารถดำเนินงาน และสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด
ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
การเตรียมระบบการดำเนินงาน
ขั้นการดำเนินการ การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
และการประเมินผล
ความสำคัญของคุณภาพที่มีต่อธุรกิจหรือองค์การ
คือ ด้านชื่อเสียงขององค์การ ด้านกำไรขององค์การ
ด้านความไว้วางใจต่อองค์การและการชื่อเสียงของประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น