การเพิ่มผลผลิต ( Productivity )

มีแนวคิด 2 ประการ ที่อธิบายความหมายของคำว่า "การเพิ่มผลผลิต"
ได้อย่างชัดเจน คือ
1. แนวคิดในเชิงเทคนิค (Technical Concept)
การเพิ่มผลผลิตคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
2. แนวคิดด้านปรัชญา เหนือสิ่งอื่นใด
การเพิ่มผลผลิตคือจิตสำนึก
หรือเจตคติที่จะแสวงหาทางปรับปรุงและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นเสมอ
ด้วยความเชื่อมั่นว่า สามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้
และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ เป็นความเพียรพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดที่จะปรับเปลี่ยนงานหรือกิจกรรมที่ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ
การเพิ่มผลผลิตเป็นความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์
การเพิ่มผลผลิตเป็นความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์
องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนนั้น องค์การนั้นๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 7 ดังนี้คือ
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนนั้น องค์การนั้นๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 7 ดังนี้คือ
1. Quality
คุณภาพ หมายถึง
การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. Cost
ต้นทุน หมายถึง
การลดต้นทุนที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน
3. Delivery
การส่งมอบ หมายถึง
การส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง ถูกเวลา และถูกสถานที่
4. Safety
ความปลอดภัย หมายถึง
การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับพนักงาน
ซึ่งส่งผลให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
5. Morale
ขวัญกำลังใจในการทำงาน หมายถึง
การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ให้เอื้อต่อการทำงานของพนักงานที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
6. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง
การดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และ ชุมชน
7. Ethics
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หมายถึง
การดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ลูกค้า
ผู้จัดหาสินค้าพนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่แข่ง ภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แนวความคิดในการเพิ่มผลผลิต
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการ ผลิตอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดนี้อาจใช้วิธีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการ ผลิตอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดนี้อาจใช้วิธีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นทัศนคติในจิตใจของคน ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
บนพื้นฐานของความเชื่อในความก้าวหน้าและความสามารถของมนุษย์ว่าเราสามารถทําวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานและพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้แนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้น
เริ่มต้นจากการที่ Frederick W. Taylor เฟรดเดอริค
ดับบลิว เทเลอร์ ได้นำแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารช่วงปี ค.ศ. 1911
โดยเริ่มศึกษาและหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต
อันเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการจัดการที่ยังมีข้อบกพร่องทั้งในด้านความรับผิดชอบของพนักงาน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
นโยบายของผู้บริหารซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
พนังงานอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ตนเองไม่มีความรู้ หรือขาดความถนัด
ขาดทักษะในการทำงานสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้การผลิตตกต่ำลงได้ทั้งสิ้นเทเลอร์สนใจการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรเท่านั้นแต่ยังเพิ่มค่าตอบแทนสำหรับแรงงานโดยผ่านการเพิ่มผลผลิต
เนื่องจากความกลัวของคนงานที่ว่าพวกเขาอาจจะต้องออกจากงาน
จากการผลิตที่น้อยลงแทนที่จะมากขึ้น เทเลอร์คิดว่าปัญหาของการผลิตเนื่องมาจากฝ่ายการจัดการและฝ่ายแรงงาน
ผู้บริหารและคนงาน มุ่งส่วนที่เป็นส่วนเกินที่ได้จากผลผลิต
ซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างค่าจ้างและกำไร เทเลอร์พิจารณาการเพิ่มผลผลิตโดยปราศจากการใช้แรงงานและแรงจูงใจของคนเพิ่มขึ้น
หลักการดังกล่าวถูกนำเข้าสู่ภาคปฏิบัติโดยพิจารณาปริมาณงานต่อวัน
การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงานได้นำมาใช้อย่างมาก
แผนการจ่ายเงินขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ใช้โดยพยายามเพิ่มส่วนเกิน ซึ่งเทเลอร์เรียกว่า
การเพิ่มผลผลิต (Productivity)
เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานที่ทำการผลิตได้รับค่าจ้างขึ้นอยู่กับผลผลิตของเขา
ทำให้เกิดสิ่งจูงใจแก่คนงานในการทำงาน เกิดการปรับปรุงการผลิต
และการให้ผลตอบแทนตามผลผลิต เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
ประเภทของการเพิ่มผลผลิต
ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า
· องค์กรมีวีธีการอย่างไรในการจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
องค์กรมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที
และองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร
รวมทั้งให้คู่ค้านำไปใช้ในการปรับปรุง
การวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล
- องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดคุณลักษณะ
และทักษะที่จำเป็นของพนักงานที่องค์กรต้องการเพื่อให้ตอบสนองต่อแผนการเพิ่มผลผลิต
- ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร รวมถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับสนับสนุนการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและส่งผลต่อการบรรลุแผนปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตขององค์กรอย่างไร และการบริหารค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย ตลอดจนการให้รางวัลและสิ่งจูงใจกับพนักงานที่มีผลการดำเนินการที่ดีเหล่านั้น
- องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้การสื่อสาร การแบ่งปันทักษะระหว่างผู้ที่อยู่ต่างหน่วยงาน ต่างภาระงาน และต่างสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
- ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร รวมถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับสนับสนุนการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและส่งผลต่อการบรรลุแผนปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตขององค์กรอย่างไร และการบริหารค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย ตลอดจนการให้รางวัลและสิ่งจูงใจกับพนักงานที่มีผลการดำเนินการที่ดีเหล่านั้น
- องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้การสื่อสาร การแบ่งปันทักษะระหว่างผู้ที่อยู่ต่างหน่วยงาน ต่างภาระงาน และต่างสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น